องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ : www.bankhaisao.go.th

 
 
สภาพทางเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจ 
  ๑. การเกษตร

            จาการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)  ประจำปี ๒๕๕๙ พบว่า มีครัวเรือนที่ทำการเกษตรทั้งหมด ๑,๖๘๑ ครัวเรือน
๑) มีอาชีพทำนา  ๑,๖๘๑  ครัวเรือน จำนวน ๑๙,๙๗๑ ไร่
๒) ทำสวนมะม่วง  –  ครัวเรือน จำนวน  -  ไร่
๓) ทำสวนกล้วย  –  ครัวเรือน จำนวน  –  ไร่
๔) สวนยาพารา  –  ครัวเรือน จำนวน  –  ไร่
๕) สวนขนุน  –  ครัวเรือน จำนวน  –  ไร่
๖) ทำไร่อ้อย  ๕๗  ครัวเรือน จำนวน  ๗๕๐  ไร่
๗) ทำไร่มันสำปะหลัง  -  ครัวเรือน จำนวน  –  ไร่
๘) สวนมะพร้าว  -  ครัวเรือน จำนวน  –  ไร่
๙) ปลูกผัก  ๑๒  ครัวเรือน จำนวน  ๒๖  ไร่
๑๐) ปลูกถั่วลิสง  -  ครัวเรือน จำนวน  –  ไร่

๒. อุตสาหกรรม

- อุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ใช้ทุนประกอบกิจการน้อย ได้แก่
- ร้านผลิตโลหะ ๓ แห่ง
- โรงสีข้าว ๑๑ แห่ง
- โรงงานทำเส้นขนนจีน ๓ แห่ง
- โรงเรือนทำหีบศพและผลิตภัณฑ์ ๓ แห่ง
- กลุ่มทอผ้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน

๓. การพาณิชย์ และบริการ

- ร้านขายก๋วยเตี๋ยว ๙ แห่ง
- ร้านค้า ๕๕ แห่ง
- ร้านซ่อมรถ ๑๖ แห่ง
- ปั้มน้ำมัน (ปั้มหลอด) ๑ แห่ง
- ปั้มน้ำมัน ๒ แห่ง
- ร้านเสริมสวย ๖ แห่ง
- ร้านคอมพิวเตอร์/ถ่ายเอกสาร/เกมส์ - แห่ง
- โรงงานรับซื้อของเก่า (ขนาดเล็ก) ๑ แห่ง
- ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ๑ แห่ง
- ร้านจำหน่ายปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ๑ แห่ง
- บ้านเช้า - แห่ง
- โรงงานผลิตอิฐบล็อก อิฐประสาน ๑ แห่ง
- ร้านทำเหล็กดัด ๑ แห่ง


๔. แรงงาน

          ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลบ้านค่ายจะประกอบอาชีพทำการเกษตร นอกเหนือจากฤดูทำนา ทำไร่ แล้วจะทำงานรับจ้างทั่วไป ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพภาพในตำบลร้อยละ ๓๐ นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพรับจ้างในเขตอุตสาหกรรมต่างหวัดในเมืองใหญ่ๆร้อยละ๖๐และมีอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่นรับเหมาก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ๑๐

 
เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่ง)

          องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค่าย มีข้อใดได้เปรียบคือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำชีไหลผ่าน ทำให้พื้นที่เหมาะในการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา มีแหล่งน้ำเป็นแก้มลิงธรรมชาติหายแห่ง และมีหนองน้ำขนาดใหญ่ คือ บึงแก่งนรา ที่เหมาะสำหรับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หรือเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตลอดจนใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณี เช่น งานลอยกระทง งานสงกรานต์ เป็นต้น
ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ งานจักสาน , สิ่งทอ , การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

- แหล่งน้ำตามธรรมชาติ

๑. แม่น้ำชี ไหลผ่านทุกหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลบ้านค่าย ทั้ง ๑๒ หมู่บ้าน
๒. คลองไผ่เหนือ คลองไผ่ใต้ ไหลผ่านในพื้นที่หมู่ที่ ๒ และ หมู่ที่ ๘
๓. คลองจอก ไหลผ่านในพื้นที่ หมู่ที่ ๑,๒,๓,๑๑
๔. หนองจอก และหนองน้ำตะกุด หมู่ที่ ๑๒
๕. บึงแก่งนรา บึงหนองปรักแรด หมู่ที่ ๕
๖. หนองน้ำตะกุด หมู่ที่ ๖ เป็นต้น

- แหล่งน้ำชลประทาน มีจำนวน ๑๒ แห่ง ดังนี้ อ่างเก็บน้ำบึงแก่งนรา , อ่างเก็บน้ำหนองปรักแรด , หนองน้ำตะกุด , หนองจอก , หนองน้ำตะกุด , คลองไผ่เหนือ , คลองไผ่ใต้ , ลำห้วยปึก , ฝายหลวงพ่อทอง , สระหนองคร้อ , ห้วยคลองจอก

- สถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า มีจำนวน ๔ สถานี ดังนี้
๑. สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าบ้านกุดเวียน หมู่ที่ ๖
๒. สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าบ้านแก้งจิก หมู่ที่ ๗
๓. สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าบ้านเสี้ยวน้อย หมู่ที่ ๘
๔. สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าบ้านโค้งขนัน หมู่ที่ ๔

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

                ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จะเห็นได้จากมีวัดจำนวน ๗ วัด กับ สำนักสงฆ์ ๑ แห่ง ความเชื่อถือประเพณีในสมัยก่อนยังคงมีอิทธิพลทางจิตใจของประชาชน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเพณีท้องถิ่น การนุ่งโสร่ง – โจงกระเบนของตำบลบ้านค่าย เป็นภูมิปัญญาและประเพณีรักษาสืบทอดกันมานาน

ทรัพยากรธรรมชาติ

    ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
              
ป่าไม้และทรัพยากรสัตว์ป่า ตำบลบ้านค่ายอยู่ในที่เขตราบลุ่มแม่น้ำชี ป่าไม้มีน้อยมาก มีเฉพาะป่าเศรษฐกิจ ป่าไผ่ และป่าไม้ตามฝั่งแม่น้ำชี สัตว์ป่าที่พอพบเห็นทั่วไปตามพื้นที่ ได้แก่ กระรอกขาว กระแต นกโพระดก นกแซงแซว นกกาปูด นกขอด และนกประจำถิ่นอื่นๆ เป็นต้น

อื่นๆ (ถ้ามีระบุด้วย)

               การท่องเที่ยว ตำบลบ้านค่าย มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม คือ การแสดงของช้างบ้านค่ายหมื่นแผ้ว ประเพณีสงกรานต์ ก่อพระทรายดอกไม้สด รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ประเพณีเข้าพรรษา กราบนมัสการพระธาตุชัยภูมินทร์ ณ วัดชุมพลสวรรค์ บ้านท่าหว้า เป็นต้น ส่วนแหล่งท้องเที่ยวทางธรรมชาติ การล่องแพลำน้ำชี กินปลาบึงแหล่งนรา เป็นต้น